ย.ศ.ส. น.ฉ.ว.

http://loveartandnature.siam2web.com/

                 ติดต่อ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล http://www.dgr.go.th/

***************************

บทความเกี่ยวกับน้ำบาดาล

+++++++++++++

กำเหนิดน้ำบาดาล

โลกเราเมื่อแบ่งเป็นส่วนได้ประมาณ4ส่วน3ส่วนเป็นพื้นที่น้ำ อีกส่วนเป็นพื้นทวีป

จึงดูเหมือนว่า น้ำมีอยูมาก ใช้ไม่มีวันหมด

 แต่จริงๆแล้วแหล่งน้ำบนโลกเราเป็นน้ำเค็มในทะเลและมหาสมุทรถึงร้อยละ 97.2 เป็นน้ำจืด

ร้อยละ 2.8 ซึ่งจะอยู่ในรูปของธารน้ำแข็งร้อยละ0.009 และอยู่ในรูปของความชื้นในดินและในบรรยากาศร้อยละ0.006 

 เราจะเห็นได้ว่าแหล่งน้ำจืดที่อยู่ในสถานะของเหลวที่มากที่สุดคือน้ำบาดาล 

    น้ำบาดาลคืออะไร

เมื่อพิจารณาแล้วแหล่งน้ำบนโลกใบนี้สามารถแบ่งได้เป็น 3ประเภทคือ

 1. น้ำฟ้เ หรือน้ำในบรรยากาศ มีหลากหลายสถานะ ได้แก่ ฦน ลูกเห็บ หิมะ น้ำค้าง

 เมฆ หมอก ซึ่งเป็นแหล่งกำเหนิดของน้ำอีกทั้ง 2 ประเภท

 2. น้ำผิวดินเป็นน้ำที่เกิดจากน้ำฟ้า หรือน้ำในบรรยากาศ ตกลงมาสู่ผิวโลกและถูกกักเก็บ

ไว้บนผิวดิน ในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเล มหาสมุทร และน้ำผิวดินบาง

ส่วนก็จะซึมไปสู่ชั้นใต้ดิน

 3.น้ำบาดาล เป็นน้ำที่เกิดจากน้ำฟ้าหรือน้ำในบรรยากาศ และน้ำผิวดิน ไหลซึมลงสู่ใต้ดิน

แล้วถูกกักเก็บไว้ในช่องว่าง รูพรุน ของชั้นดินที่เป็นกรวด ทราย และในรอยแตก รอยแยก โพรงของชั้นหิน

 

 แหล่งน้ำบาดาลจำแนกตามภาค

(Ground Water Classified by Region)

  • แหล่งน้ำบาดาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    มักจะอยู่ในรอยแตกร้าวของหินประเภทหินทรายและหินดินดานซึ่งมีอยู่ประมาณ
    ร้อยละ 80 ของพื้นที่ภาคทั้งหมด คุณภาพของน้ำบาดาลมีตั้งแต่จืดสนิทไปจนถึงกร่อย
    และเค็ม แต่บ่อที่ให้น้ำกร่อยนั้นอาจพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้เฉพาะ เพื่อการอุปโภค
    หรือเป็นน้ำใช้ได้ 
  • แหล่งน้ำบาดาลในภาคเหนือ
    แหล่งน้ำบาดาลที่ให้น้ำมาก ได้แก่ แหล่งน้ำบาดาลที่เป็นหินร่วน เช่น แอ่งเชียงใหม่ 
    ซึ่งคลุมท้องที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน แอ่งเชียงราย แอ่งลำปาง แอ่งพะเยา 
    บริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน จากจังหวัดอุตรดิตถ์ ถึงตอนเหนือ
    ของจังหวัดนครสวรรค์ สำหรับหินแข็ง ในภาคเหนือนั้นครอบคลุมท้องที่ภาคเหนือ
    เป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางด้านตะวันออกของจังหวัดน่านและจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นหินทราย 
    และหินดินดาน 
    ซึ่งหินเหล่านี้ไม่กักเก็บน้ำจึงให้น้ำน้อย คุณภาพน้ำบาดาลส่วนใหญ่เป็นน้ำจืด
    แต่มักมีปริมาณสารละลายเหล็ก
    อยู่สูง
  • แหล่งน้ำบาดาลในภาคกลาง
    บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เป็นแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่ที่สุดและ
    ให้น้ำมากที่สุดของประเทศ แบ่งออกได้เป็น 2 บริเวณ คือแอ่งเจ้าพระยาบริเวณพื้นที่ราบตั้งแต่
    อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาทไปจนถึง
     ปากแม่น้ำเจ้าพระยา กักเก็บน้ำไว้ได้มาก ตั้งแต่ระดับพื้นดินจนถึงความลึกประมาณ 600 เมตร 
    มีชั้นน้ำบาดาลอยู่ถึง 8 ชั้น แต่ละชั้นให้น้ำปริมาณมาก 
     บริเวณขอบแอ่งเจ้าพระยาด้านตะวันตกและด้านตะวันออก ขอบแอ่งเจ้าพระยา
    ด้านตะวันตกคลุมพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรีด้านตะวันตกไปจนถึงนครปฐม ขอบแอ่งด้านตะวันออก
    คลุมพื้นที่จังหวัดลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี จนถึงฉะเชิงเทรา
    บริเวณขอบแอ่งที่เป็นภูเขาให้ปริมาณน้ำน้อย เนื่องจากหินส่วนใหญ่เป็นหินภูเขาไฟ แต่ถ้าเจาะลงในหินปูนก็จะให้น้ำมาก 
  • แหล่งน้ำบาดาลในภาคตะวันตก
      
    ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่รองรับด้วยหินแปร จึงพบน้ำบาดาลในรอยแตกแยก
    ของหิน ปริมาณ น้ำมีไม่มากนัก แหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีอยู่ในภาคนี้คือบริเวณที่ราบลุ่มน้ำ

      แม่กลอง ตั้งแต่อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแนวผ่าน อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ไปจนถึงจังหวัดสมุทรสาครและอ่าว
ไทย  แหล่งน้ำบาดาลในบริเวณ อำเภอท่าม่วง อำเภอท่ามะกา ในระดับน้ำตื้นก็ให้น้ำมาก

  •   
    ส่วนแหล่งกรวดทรายริมเขาตั้งแต่บริเวณจังหวัดราชบุรีจนถึงเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนใหญ่
    ให้น้ำน้อย บางแห่งมีแต่น้ำเค็มไม่พบแหล่งน้ำจืด และบางแห่งจะไม่มีน้ำเลย ได้แก่บริเวณอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
      
    สำหรับคุณภาพน้ำบาดาลลุ่มน้ำแม่กลองตอนบน ในเขตอำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอท่าม่วง  อำเภอท่า
    มะกา อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม ให้น้ำจืดคุณภาพดี แต่บริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง
    ตอนล่างตั้งแต่อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ลงไปถึงจังหวัดสมุทรสาคร จะมีน้ำเค็มอยู่ในชั้นบนๆ
  • แหล่งน้ำบาดาลในภาคตะวันออก
    ลักษณะทางธรณีวิทยาและลักษณะภูมิประเทศทางภาคตะวันออกเป็นหินแข็ง
    ที่ไม่ค่อยมีรอยแตกรอยร้าวจึงเป็น บริเวณที่หาน้ำได้ยากมากตั้งแต่จังหวัดชลบุรี
    จนถึงจังหวัดระยอง และจันทบุรี คุณภาพน้ำมักกร่อย ส่วนบ่อที่เจาะใน 
    รอยแตกรอยร้าวของหินแกรนิตจะให้น้ำจืดและคุณภาพดี เช่น บ่อน้ำบาดาล
    บริเวณวิทยาลัยสงฆ์จิตตภาวัณ    อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 
  • แหล่งน้ำบาดาลในภาคใต้
    แหล่งน้ำบาดาลที่ให้น้ำมากที่สุด ได้แก่ บริเวณที่ราบริมฝั่งทะเลด้านตะวันออก 
    คือ ด้านอ่าวไทยตั้งแต่
    จังหวัด นครศรีธรรมราชถึงจังหวัดพัทลุงและอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
    และจากจังหวัดปัตตานี ถึงจังหวัด
    นราธิวาส ส่วนบริเวณด้านตะวันตกของภาคใต้ที่อยู่ห่างฝั่งทะเลออกไปประกอบด้วย
    หินแข็งจึงมีปริมาณน้ำไม่มาก
    *************************
    พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. ๒๕๒๐
    หมวด ๒ การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำบาดาล
                          _____________
            มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการน้ำบาดาลในเขตน้ำบาดาลใดๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้มี
    กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินในเขตน้ำบาดาลนั้นหรือไม่เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาต
    จากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย 

            การขออนุญาต การอนุญาต การขอใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตาม

    หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

            การอนุญาตหรือออกใบอนุญาต รวมทั้งการไม่อนุญาตหรือไม่ออกใบอนุญาตจะต้อง

    กระทำให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดครบถ้วนตาม

    ที่กำหนดในกฎกระทรวง

            มาตรา ๑๗ ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการน้ำบาดาลในเขตน้ำบาดาล

    ใด ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ในเขตน้ำบาดาลนั้น

            มาตรา ๑๘ ประเภทของใบอนุญาต มีดังนี้

             (๑) ใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล

             (๒) ใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล

             (๓) ใบอนุญาตระบายน้ำลงบ่อน้ำบาดาล

            มาตรา ๑๙ ใบอนุญาตตามมาตรา ๑๘ ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตด้วย

            ให้ถือว่าการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตที่ได้รับการคุ้มกันตามวรรคหนึ่ง

    เป็นการกระทำของผู้รับใบอนุญาตด้วย เว้นแต่ผู้รับใบอนุญาตจะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำดังกล่าว

    เป็นการสุดวิสัยที่ตนจะล่วงรู้หรือควบคุมได้ ในกรณีเช่นนี้ลูกจ้างหรือตัวแทนต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

            มาตรา ๒๐ ใบอนุญาตตามมาตรา ๑๘ ให้มีอายุตามที่ผู้ออกใบอนุญาตกำหนด แต่ไม่เกินกำหนด

    เวลาดังต่อไปนี้

             (๑) ใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาลให้มีอายุไม่เกินหนึ่งปี

             (๒) ใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลให้มีอายุไม่เกินสิบปี

             (๓) ใบอนุญาตระบายน้ำลงบ่อน้ำบาดาลให้มีอายุไม่เกินห้าปี

            ถ้าผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต จะต้องยื่นคำขอเสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ

    เมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้ จนกว่าผู้ออกใบอนุญาตจะสั่ง

    ไม่อนุญาต

    ให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น อัตราค่าธรรมเนียม_____________


    (๑) คำขอ       ฉบับละ ๑๐ บาท

    (๒) ใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล     ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท

    (๓) ใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล    ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท

    (๔) ใบอนุญาตระบายน้ำลง

            บ่อน้ำบาดาล    ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท

    (๕) ใบแทนใบอนุญาต    ฉบับละกึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมใบอนุญาต

    (๖) การต่ออายุใบอนุญาต    ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาต

    (๗) การโอนใบอนุญาต    ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาต


             หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันนี้

            การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ

    และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

            มาตรา ๒๐ ทวิ ผู้รับใบอนุญาตอาจโอนใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ให้แก่ผู้อื่น

    ได้เมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้ออกใบอนุญาต

            การขอโอนใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข

    ที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล*กำหนด

            มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ผู้ออกใบอนุญาตไม่ออกใบอนุญาต ไม่อนุญาตให้ต่ออายุ

    ใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้โอนใบอนุญาต ผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาต

    หรือผู้ขอโอนใบอนุญาต มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่

    ได้รับหนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาต ไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้

    โอนใบอนุญาต  คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

            ในกรณีที่ผู้ออกใบอนุญาตไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โอนใบอนุญาต

    ก่อนที่รัฐมนตรีจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคสอง รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งอนุญาตให้

    ประกอบกิจการไปพลางก่อนได้เมื่อผู้อุทธรณ์ร้องขอ


    หมวด ๓ หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำบาดาล

    _____________
            มาตรา ๒๒ ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
    และต้องปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา ๖ 

            มาตรา ๒๓ ในการเจาะน้ำบาดาล ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุซากดึกดำบรรพ์

    หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ผู้รับใบอนุญาตหรือ

    ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐตามมาตรา ๔ ต้องรายงานให้พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่

    หรือกรมทรัพยากรน้ำบาดาล*ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันพบ และถ้าเป็นโบราณวัตถุหรือ

    ศิลปวัตถุ ให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล*แจ้งให้กรมศิลปากรทราบโดยด่วน

            มาตรา ๒๔ ผู้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย

    และเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต

            มาตรา ๒๕ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้ง

    ต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ และยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่

    วันที่ได้ทราบการสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว

            การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์

    วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

            มาตรา ๒๕/๑ ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลต้องชำระค่าใช้น้ำบาดาลและค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล

    ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

            มาตรา ๒๖ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดเลิกกิจการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้

    ต้องแจ้งการเลิกกิจการเป็นหนังสือให้พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ทราบภายในสิบห้าวัน

    นับแต่วันเลิกกิจการ และให้ถือว่าใบอนุญาตสิ้นอายุตั้งแต่วันเลิกกิจการ

            มาตรา ๒๗ เมื่อผู้รับใบอนุญาตเลิกกิจการแล้ว หรือไม่ได้รับอนุญาตให้ต่อใบอนุญาตตามมาตรา

    ๒๐ หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๕ ให้ผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวจัดการ

    รื้อ ถอน อุด หรือกลบหลุมบ่อ หรือสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวกับกิจการน้ำบาดาลที่พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณา

    เห็นว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งน้ำบาดาล ทั้งนี้ ภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ

    จากพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่

            ในกรณีที่มิได้มีการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่มีอำนาจจัด

    ทำกิจการดังกล่าวแทน โดยผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการ

    จัดทำกิจการนั้นทั้งสิ้น

    มีการเจาะน้ำบาดาลและการใช้น้ำบาดาลกันอย่างกว้างขวาง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก

    ในอนาคต แต่ยังไม่มีการควบคุมให้เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ จนปรากฏว่า

    แหล่งน้ำบาดาลบางแห่งเกิดขาดแคลนหรือเสียหายซึ่งถ้าปล่อยให้มีสภาพเช่นนี้อยู่ต่อไป

    อาจเกิดความเสียหายต่อทรัพยากรของชาติหรือทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษหรือเป็นอันตราย

    แก่ทรัพย์สินหรือสุขภาพของประชาชนสมควรมีมาตรการป้องกันอันเหมาะสม เพื่อประโยชน์

    แก่ประเทศชาติและประชาชนจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น


            พระราชบัญญัติน้ำบาดาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕


             หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันได้มีการ

    เจาะและใช้น้ำบาดาลมากขึ้นเป็นเหตุให้เกิดปัญหาวิกฤตการณ์น้ำบาดาลและปัญหาแผ่นดิน

    ทรุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานคร สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติน้ำบาดาล

    พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

    อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดเขต ห้ามสูบน้ำบาดาล การกำหนดอัตราค่าใช้น้ำบาดาล

    ให้ใกล้เคียงกับค่าน้ำประปาเพื่อให้ประชาชนลดการใช้น้ำบาดาลหรือเลิกใช้น้ำบาดาลเมื่อมีการ

    ห้บริการประปาแล้วปรับปรุงบทกำหนดโทษและปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมกับ

    สภาพการณ์ปัจจุบัน รวมตลอดทั้งเพิ่มอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่าง

    กว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ช่างเจาะน้ำบาดาลมีความรู้ ความสามารถใน

    การเจาะน้ำบาดาล สมควรกำหนดให้กรมทรัพยากรธรณีจัดให้มีบริการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาผู้ปฏิบัติ

    งานเกี่ยวกับการเจาะน้ำบาดาลทั้งของรัฐและเอกชนและจดทะเบียนช่างเจาะน้ำบาดาล จึงจำเป็น

    ต้องตราพระราชบัญญัตินี้


            *พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ

    ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕


            มาตรา ๖๖ ในพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. ๒๕๒๐ ให้แก้ไขคำว่า

    “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

    และสิ่งแวดล้อม” คำว่า “กรมทรัพยากรธรณี” เป็น “กรมทรัพยากรน้ำบาดาล”

    คำว่า “กรมโยธาธิการ” เป็น “กรมโยธาธิการและผังเมือง” คำว่า “ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์

    เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”

    และคำว่า “ผู้อำนวยการกองน้ำบาดาล” เป็น “ผู้แทนกรมทรัพยากรน้ำบาดาล”


             หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ

    โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้ง

    ส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหาร

    และอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง

    กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ

    รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่

    โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่างๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น

    เพื่ออนุมัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

    จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง

    มีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใด

    ได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว

    โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่

    ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจ

    ที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว

    ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้


            พระราชบัญญัติน้ำบาดาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖

             หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

    จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร

    มีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณที่มากเกินกว่าปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ชั้นน้ำบาดาล ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

    การทรุดตัวของแผ่นดิน การแพร่กระจายของน้ำเค็มเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาล ตลอดจนทำให้ระดับน้ำในชั้นน้ำบาดาลลดลง

    สมควรกำหนดให้ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐที่มีการเจาะน้ำบาดาลและใช้น้ำบาดาลต้องขอรับ

    ใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำบาดาล นอกจากนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับ

    การชำระค่าใช้น้ำบาดาลและค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล และการให้เอกชนจัดเก็บค่าใช้น้ำบาดาลและค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล

    และจัดตั้งกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล เพื่อนำเงินมาหมุนเวียนเป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล

    และกำหนดให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก


Advertising Zone    Close
Online: 1 Visits: 4,128 Today: 4 PageView/Month: 1

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...